ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร สาร หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่างๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับความรู้ แสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน สื่อ หรือ ช่องทาง หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร ผู้รับสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร จากผู้ส่งสารและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆประเภทของการสื่อสาร 1.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่1.4 การสื่อสารองค์การ1.5 การสื่อสารมวลชน 2.จำแนกตามลักษณะการใช้ภาษาความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และการสื่อสารทำให้เกิดสิ่งต่างๆ มากมาย ทำให้ประเทศนั้นเกิดการเจริญก้าวหน้า บุคคลในสังคมมีความรู้และทันโลกอยู่ตลอดเวลาความหมายของการสื่อสาร กระบวนการถ่ายทอด ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น ประสบการณ์ ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านสื่อต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง เกิดกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม และมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลได้ความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุกเพศ ทุกวัย จึงก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กับระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยทำให้บุคคลในสังคมเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ทั้งตัวบุคคลและสังคม หลักในการสื่อสาร1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความข้าใจในเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารอย่างดี2.ต้องคำนึงสิ่งแวดล้อมในการสื่อสาร3.คำนึงถึงกรอบการอ้างอิง ถ้าเรามีกรอบอ้างอิงใกล้เคียงกัน ก็สามารถสื่อสารกันง่าย4.การสื่อสารจะมีประสิทธิผลได้ ผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน5.ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า6.คำนึงถึงการใช้ทักษะ7.คำนึงถึงปฏิกิริยาการตอบกลับตลอดเวลา วัตถุประสงค์การสื่อสาร 1. เพื่อแจ้งให้ทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง 4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 5. เพื่อเรียนรู้ 6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจองค์ประกอบของการสื่อสาร2.1 การสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงวัจนภาษา2.2 การสื่อสารที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา 3.จำแนกโดยถือเกณฑ์เห็นหน้าค่าตากัน3.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือการสื่อสารทางตรง3.2 การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าหรือการสื่อสารทางอ้อม 4.จำแนกโดยถือเกณฑ์ความสามารถในการโต้ตอบกัน4.1 การสื่อสารทางเดียว4.2 การสื่อสารสองทาง 5.จำแนกประเภทตามเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร5.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ5.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม5.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ 6.จำแนกโดยถือลักษณะเนื้อหาวิชา6.1 ประเภทข่าวสาร6.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล6.3 การสื่อสารมวลชน6.4 การสื่อสารการเมือง6.5 การสื่อสารในองค์การ6.6 การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล6.7 การสื่อสารการสอน6.8 การสื่อสารสาธารณสุขอุปสรรคในการสื่อสาร อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้สื่อสารและผู้รับสาร ดังนั้น อุปสรรคในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง